รีเลย์ เบรกเกอร์ แมกเนติก แอมมิเตอร์ ฯลฯ คืออะไร มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง ในตู้คอนโทรลไฟฟ้า
ทำความรู้จักกับรีเลย์ เบรกเกอร์ แมกเนติก แอมมิเตอร์ องค์ประกอบสำคัญในตู้คอนโทรลไฟฟ้า ที่มีบทบาทสำคัญมากมายต่ออุตสาหกรรม
ในระบบไฟฟ้าอุตสาหกรรม ตู้คอนโทรลไฟฟ้า เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ช่วยในการควบคุม และป้องกันการทำงานของเครื่องจักร และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในอุตสาหกรรมได้ ซึ่งภายในตู้คอนโทรลนั้นจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลากหลายชนิด เช่น รีเลย์ เบรกเกอร์ แมกเนติก แอมมิเตอร์ ฯลฯ ซึ่งแต่ละอุปกรณ์ก็ล้วนมีบทบาท และหน้าที่เฉพาะที่แตกต่างกันออกไป ในวันนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับอุปกรณ์เหล่านี้กันว่า คืออะไร มีการทำงานอย่างไร และมีข้อคำนึงที่ควรพิจารณาในการเลือกใช้งานอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย!
รีเลย์ (Relay) คืออะไร มีหลักทำงานอย่างไร และมีข้อคำนึงในการเลือกใช้งานอย่างไรบ้าง
รีเลย์ (Relay) คืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในการควบคุมการเปิด-ปิดวงจรไฟฟ้า ที่มีส่วนประกอบหลักคือ ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้า และหน้าสัมผัส โดยรีเลย์ (Relay) จะทำงานโดยใช้หลักการของแม่เหล็กไฟฟ้าในการเปิด-ปิดหน้าสัมผัส (Contact) ของวงจร ด้วยการใช้สัญญาณไฟฟ้าขนาดเล็กในการควบคุมการทำงานของวงจร ที่มีแรงดันหรือกระแสไฟฟ้าสูงกว่า และเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวด จะเกิดสนามแม่เหล็กที่ทำให้หน้าสัมผัสเปิด-ปิดวงจรไฟฟ้าได้นั่นเอง
ประเภทของรีเลย์ (Relay)
- รีเลย์แม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Relay) : ใช้ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าในการควบคุมการทำงาน
- รีเลย์สถานะของแข็ง (Solid State Relay) : ใช้สารกึ่งตัวนำในการควบคุมการทำงาน โดยจะไม่มีส่วนที่เคลื่อนไหว ทำให้มีความแข็งแรงทนทาน และมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า
ข้อคำนึงในการเลือกใช้รีเลย์ (Relay)
- ควรเลือกรีเลย์ที่สามารถรองรับแรงดัน และกระแสไฟฟ้าได้ตามความต้องการของระบบ
- ควรเลือกรีเลย์ ที่มีจำนวนหน้าสัมผัสเพียงพอต่อการควบคุมวงจรที่ต้องการ
- ควรเลือกรีเลย์ที่มีความทนทานต่อการใช้งาน ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไป
เบรกเกอร์ (Circuit Breaker) คืออะไร มีหลักทำงานอย่างไร และมีข้อคำนึงในการเลือกใช้งานอย่างไรบ้าง
เบรกเกอร์ (Circuit Breaker) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันวงจรไฟฟ้า จากการเกิดกระแสไฟฟ้าเกิน (Overcurrent) หรือการลัดวงจร (Short Circuit) โดยเบรกเกอร์ จะทำหน้าที่ในการตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อมีกระแสไฟฟ้าผิดปกติ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเกิดไฟไหม้ ซึ่งเบรกเกอร์สามารถทำการรีเซตได้หลังจากการตัดวงจร ทำให้สามารถใช้งานอุปกรณ์ได้ใหม่โดยที่ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนอุปกรณ์
ประเภทของเบรกเกอร์ (Circuit Breaker)
- เบรกเกอร์ลูกย่อย (Miniature Circuit Breaker - MCB) : เป็นประเภทที่ใช้ในวงจรไฟฟ้าขนาดเล็ก เช่น ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน
- เบรกเกอร์ลูกใหญ่ (Molded Case Circuit Breaker - MCCB) : เป็นประเภทที่ใช้ในวงจรไฟฟ้าขนาดใหญ่ เช่น ระบบไฟฟ้าอุตสาหกรรม
- เบรกเกอร์ป้องกันไฟฟ้ารั่ว (Residual Current Circuit Breaker - RCCB) : เป็นประเภทที่ใช้ในการป้องกันไฟฟ้ารั่วโดยเฉพาะ เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อผู้ใช้งาน
ข้อคำนึงในการเลือกใช้เบรกเกอร์ (Circuit Breaker)
- ควรเลือกเบรกเกอร์ ที่สามารถรองรับกระแสไฟฟ้าได้ตามความต้องการของวงจร และเหมาะสมกับการใช้งาน เช่น MCB สำหรับระบบไฟฟ้าขนาดเล็ก หรือ MCCB สำหรับระบบไฟฟ้าขนาดใหญ่ เป็นต้น
- ควรเลือกเบรกเกอร์ที่มีความไวในการตัดวงจรที่เหมาะสมกับการป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้า เนื่องจากอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชนิดล้วนมีมาตรการป้องกันความปลอดภัยที่แตกต่างกันออกไป
แมกเนติก (Magnetic Contactor) คืออะไร มีหลักทำงานอย่างไร และมีข้อคำนึงในการเลือกใช้งานอย่างไรบ้าง
แมกเนติก (Magnetic Contactor) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการเปิด-ปิดวงจรไฟฟ้าขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในวงจรที่ต้องการควบคุมการใช้งานของมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีส่วนประกอบหลักคือ ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้า และหน้าสัมผัส ที่เมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวด จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กที่ทำให้หน้าสัมผัสทำการเปิด หรือปิดวงจรไฟฟ้าได้ มักใช้งานในการควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ หรืออุปกรณ์ที่ต้องการกระแสไฟฟ้าสูง
ข้อคำนึงในการเลือกใช้แมกเนติก (Magnetic Contactor)
- ควรเลือกแมกเนติก ที่สามารถรองรับกระแสไฟฟ้าได้ตามความต้องการของระบบ
- ควรเลือกแมกเนติก ที่มีความทนทานต่อการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไป
- ควรเลือกแมกเนติก ที่มีจำนวนหน้าสัมผัสเพียงพอต่อการควบคุมวงจรที่ต้องการ
แอมมิเตอร์ (Ammeter) คืออะไร มีหลักทำงานอย่างไร และมีข้อคำนึงในการเลือกใช้งานอย่างไรบ้าง
แอมมิเตอร์ (Ammeter) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดกระแสไฟฟ้าภายในวงจร โดยจะทำการวัดปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านวงจร และแสดงผลออกมาเป็นหน่วยแอมแปร์ (Ampere) ซึ่งการวัดกระแสไฟฟ้านั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ ในการตรวจสอบการทำงานของระบบไฟฟ้า และป้องกันการเกิดกระแสไฟฟ้าเกินได้ โดยแอมมิเตอร์ (Ammeter) จะใช้งานด้วยการต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้าในลักษณะของอนุกรม กับโหลด โดยสามารถทำได้ทั้งในระบบไฟฟ้ากระแสตรง (DC) และกระแสสลับ (AC)
ข้อคำนึงในการเลือกใช้แอมมิเตอร์ (Ammeter)
- ควรเลือกแอมมิเตอร์ ที่มีช่วงการวัดกระแสไฟฟ้า ที่เหมาะสมกับวงจรที่ต้องการวัด
- ควรเลือกแอมมิเตอร์ ที่สามารถวัดได้ทั้งกระแสตรง และกระแสสลับ ตามความต้องการของระบบ
- ควรเลือกแอมมิเตอร์ ที่มีความแม่นยำสูงในการวัดกระแสไฟฟ้า
และสำหรับท่าที่กำลังมองหาบริการรับประกอบ และติดตั้งตู้คอนโทรลที่มีคุณภาพ พร้อมงานบริการด้านอุปกรณ์ไฟฟ้าแบบครบวงจร ติดต่อมาหาเราได้เลยที่ บริษัท แสงทองเจริญกิจการไฟฟ้า จำกัด เราคือผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ และการติดตั้งอุปกรณ์ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าอย่างแท้จริง ที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 35 ปี พร้อมให้คำปรึกษาในการเลือกซื้อสินค้า พร้อมงานบริการติดตั้งอย่างมีมาตรฐานและปลอดภัยมากที่สุด เพื่อให้อุตสาหกรรมของท่านสามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่น และเติบโตได้อย่างยั่งยืน
สนใจอุปกรณ์ไฟฟ้าอุตสาหกรรม รีเลย์ เบรกเกอร์ แมกเนติก แอมมิเตอร์
ติดต่อ บริษัท แสงทองเจริญกิจการไฟฟ้า จำกัด
โทร : 026227884
Line : https://lin.ee/aHAuhzu
E-mail : [email protected]